สาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสรีรวิทยาทางการแพทย์
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Medical Physiology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สรีรวิทยาทางการแพทย์)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (สรีรวิทยาทางการแพทย์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Medical Physiology)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Medical Physiology)

วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     (1) มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในหลักการ และทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์ และศาสตร์ในสาขาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นำมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนและพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาได้
     (2) มีความสามารถในการวิจัยขั้นสูงด้านสรีรวิทยา ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ในด้านสุขภาพ โดยบูรณาการองค์ความรู้ทั้งในมุมลึกและมุมกว้าง เพื่ออธิบายปัญหาที่เกี่ยวกับการควบคุม ป้องกัน สร้างเสริมสุขภาพ และการรักษาพยาบาล หรือการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ ๆ ในสาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์ รวมถึงสามารถผลิตงานวิจัยที่สามารถเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติได้
     (3) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทักษะการสื่อสารด้านภาษาอังกฤษ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่อย่างลึกซึ้ง ที่จะนำไปสู่การค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
     (4) มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ มีภาวะผู้นำรวมทั้งเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
     (5) มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอย่างสูง

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Medical Physiology
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สรีรวิทยาทางการแพทย์)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (สรีรวิทยาทางการแพทย์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science Program in Medical Physiology
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Medical Physiology)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     (1) มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์ และศาสตร์ในสาขาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
     (2) มีความสามารถในการทำวิจัย เพื่อการแก้ปัญหาทางวิชาการหรือการปฏิบัติงาน หรือการพัฒนาองค์ความรู้หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ ๆ ในสาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์ได้ รวมทั้งสามารถถ่ายทอด เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนข้อมูลได้
     (3) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง
     (4) มีจิตสำนึกที่ดีในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ รวมทั้งมีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
     (5) มีความพร้อมในการปรับตัว เพื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 และสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

สาขาวิชาปรสิตวิทยา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาปรสิตวิทยา
หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรสิตวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Parasitolgy (International Program)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรสิตวิทยา)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (ปรสิตวิทยา)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Parasitology)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Parasitology)

วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรสิตวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้อย่างลึกซึ้งในสาขาปรสิตวิทยาและมีความสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ความรู้ขั้นสูงด้านปรสิตวิทยา และสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการวิจัยในระดับสูงให้ได้องค์ความรู้ใหม่ และมีการเผยแพร่ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ
     2. มีความสามารถในการผลิตงานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมทางด้านการวิจัย ในสาขาวิชาปรสิตวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้อง
     3. มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสืบค้นข้อมูล ประมวลผล และการจัดการความรู้สมัยใหม่
     4. มีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยมีความสามารถในการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ การเลือกใช้วิธีและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อถ่ายทอดและปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรทางวิชาการและประชาชนทั่วไป ทั้งในระดับชาติและนานาชาติได้
     5. มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่องานในหน้าที่ สามารถทำงานเป็นกลุ่ม เคาระกฎระเบียบ มีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขา วิชาปรสิตวิทยา หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

รหัสและชื่อหลักสูตร
      ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรสิตวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
      ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Parasitology (International Program)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ปรสิตวิทยา)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (ปรสิตวิทยา)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Parasitology)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Parasitology)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรสิตวิทยา หลักสูตรนานาชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาปรสิตวิทยา รวมทั้งสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถประยุกต์ความรู้ในการวิจัย หรือการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพในระดับสูงได้
     2. มีความสามารถในการทำวิจัยหรือการจัดการโครงการทางวิชาการรวมไปถึงการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่ หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ ๆ ในสาขาวิชาปรสิตวิทยา และสามารถเผยแพร่ผลงานในระดับชาติและนานาชาติได้
     3. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     4. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
     5. มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความรับผิดชอบสูงและมีภาวะผู้นำ

สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์แม่นยำ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์แม่นยำ หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564)

รหัสและชื่อหลักสูตร
   ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์แม่นยำ (หลักสูตรนานาชาติ)
   ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Precision Medical Microbiology (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
   ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (จุลชีววิทยาทางการแพทย์แม่นยำ)
   ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (จุลชีววิทยาทางการแพทย์แม่นยำ)
   ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Precision Medical Microbiology) ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Precision Medical Microbiology)

วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์แม่นยำ หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความเป็นนักวิชาการ/นักวิจัย ที่มี
     (1) มีความรู้ความเข้าใจในหลักการทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำมาประยุกต์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการหรือการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) โดยเฉพาะผู้ใช้บัณฑิต
     (2) มีทักษะความสามารถในการทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ มีความคิดริเริ่ม วางแผนการศึกษา พัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ในสาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องได้โดยอิสระ เพื่อส่งเสริมการตรวจวินิจฉัย การรักษาและการควบคุมป้องกันโรคหรือสภาวะที่เกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยาและผู้คุ้มกันวิทยาวิทยาให้เป็นไปอย่างแม่นยำและ/หรือมีความจำเพราะในผู้ป่วยเฉพาะราย
     (3) มีทักษะความสามารถทางด้านการคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน มีทักษะค้นคว้าข้อมูลและการสื่อสาร การเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
     (4) มีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลปริมาณมาก การวิเคราะห์ชีวสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
     (5) มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะทางสังคมการยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ การคิดริเริ่ม การสร้างผลลัพธ์และมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และทำงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี
     (6) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาการและวิชาชีพ และมีภาวะผู้นำ เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์แม่นยำ
หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564)

รหัสและชื่อหลักสูตร
   ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์แม่นยำ (หลักสูตรนานาชาติ)
   ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Precision Medical Microbiology (International Program)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
   ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (จุล  ชีววิทยาทางการแพทย์แม่นยำ)
   ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (จุลชีววิทยาทางการแพทย์แม่นยำ)
   ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Precision Medical Microbiology)
   ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Precision Medical Microbiology)

วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์แม่นยำ หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเป็นนักวิชาการ/นักวิจัย ที่มี
     (1) มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ ภูมิคุ้มกันวิทยา และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
     (2) มีความรู้ในการทำงานวิจัย และนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ในสาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องได้โดยอิสระ เพื่อส่งเสริมการวินิจฉัย การรักษาการควบคุมป้องกันโรคหรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยาให้เป็นไปอย่างแม่นยำและ/หรือมีความจำเพราะในผู้ป่วยเฉพาะราย
     (3) มีทักษะและความสามารถทางด้านการคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน มีทักษะในการค้นคว้าข้อมูลและการสื่อสาร การเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
     (4) มีทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลปริมาณเชิงมาก การวิเคราะห์ชีวสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
     (5) มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะทางสังคม และการยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ การคิดริเริ่ม การสร้างผลลัพธ์ และมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และทำงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี
     (6) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ และมีภาวะผผู้นำ เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Community Health Development
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การพัฒนาสุขภาพชุมชน)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (การพัฒนาสุขภาพชุมชน)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Community Health Development)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Community Health Development)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้อย่างลึกซึ้งในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพชุมชน ทั้งทางด้านแนวคิดและทฤษฎี และสามารถบูรณาการสาขาวิชาอื่นๆ (ระบาดวิทยาและสถิติ ภาวะผู้นำ ระบบสุขภาพชุมชนและการจัดการ ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพและการประยุกต์ใช้ แนวคิดของการสร้างนวัตกรรม และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ และอื่นๆ ) ที่มีความเกี่ยวข้องเพื่อประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านการพัฒนาสุขภาพชุมชน เพื่อการศึกษาวิจัย อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม
      2. มีความรู้ความสามารถในเรื่องระเบียบวิธีวิจัยเพื่อการพัฒนาสุขภาพชุมชน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และงานวิจัยเชิงคุณภาพ ตลอดจนระเบียบวิธีวิจัยทางระบาดวิทยา การวิจัยเชิงปฎิบัติการ และการวิจัยและพัฒนา
      3. มีทักษะในการทำวิจัยในชุมชน
      4. มีทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ มีทักษะการศึกษาค้นคว้า รวบรวม ผลงานวิจัยที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน โดยผ่านกระบวนการประเมินค่าคุณภาพงานวิจัย และคัดเลือกผลงานวิจัย ที่ได้มาตรฐาน มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ มีความสามารถด้านภาษาและการสื่อสาร
      5. มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสามารถในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น มีภาวะผู้นำ
      6. มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความตระหนักในวิชาชีพทางการแพทย์และการสาธารณสุขในการให้ทำวิจัยรวมถึงการให้บริการแก่ประชาชน

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Community Health Development
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาสุขภาพชุมชน)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (การพัฒนาสุขภาพชุมชน)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Community Health Development)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Community Health Development)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาต่าง ๆ ในการพัฒนาสุขภาพชุมชน
     2. มีความสามารถในการประยุกต์ใชการวิจัยเพื่อการพัฒนาสุขภาพชุมชน ที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ ๆ ในสาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน
     3. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง และมีความสามารถในการร่วมมือทำงานกับผู้อื่น
     4. มีทัศนคติที่ดี และมีทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
     5. มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความตระหนักในวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขในการทำวิจัยรวมถึงการให้บริการแก่ประชาชน

สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขา วิชาประสาทวิทยาศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Neuroscience
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ประสาทวิทยาศาสตร์)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (ประสาทวิทยาศาสตร์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Neuroscience)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Neuroscience)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์และศาสตร์ในสาขาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นำมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนและพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ได้และสามารถประยุกต์ความรู้ในการทำวิจัยหรือการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพในระดับสูงได้
    2. มีความสามารถในการวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ทั้งในมุมลึกและมุมกว้าง เพื่อการแก้ปัญหาทางวิชาการหรือการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน หรือการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
    3. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร รวมทั้งมีทักษะในการถ่ายทอดแก่บุคลากรหลากหลายอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
     4. สามารถนำความรู้ทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์และสร้างนวัตกรรม เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ แก้ไขปัญหาทางด้านระบบประสาทและแก้ไขความผิดปกติทางระบบประสาท ตลอดจนการสร้างเสริมสมรรถนะของระบบประสาท
      5. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและ จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
      6. มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม
   7. มีทักษะในการวางแผน การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรู้ความสามารถพร้อมในการทำงานและมีความสามารถทำงานเป็นทีม

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขา วิชาประสาทวิทยาศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Neuroscience
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ประสาทวิทยาศาสตร์)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (ประสาทวิทยาศาสตร์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Neuroscience)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Neuroscience)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
      1. มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์และสามารถสามารถต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่การสร้างผลงานวิจัย และ ผลงานทางวิชาการที่เป็นนวัตกรรม สอดคล้องและตอบสนองกับทิศทางการพัฒนาประเทศระดับสูงได้
      2. มีความสามารถในการวิจัยหรือการจัดการโครงการทางวิชาการที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
      3. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
     4. นำความรู้ทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ แก้ไขปัญหาทางด้านระบบประสาทและแก้ไขความผิดปกติทางระบบประสาท ตลอดจนการสร้างเสริมสมรรถนะของระบบประสาท
     5. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
     6. มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม
     7. มีทักษะในการวางแผน การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรู้ความสามารถพร้อมในการทำงานและมีความสามารถทำงานเป็นทีม

สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎิบัณฑิต
สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Anatomy
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (กายวิภาคศาสตร์)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (กายวิภาคศาสตร์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Anatomy)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Anatomy)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญในการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ และแนวคิดที่สำคัญในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ รวมถึงศาสตร์ในสาขาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง มีภาวะผู้นำ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการทำวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสามารถประยุกต์งานวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม ถ่ายทอด และนำเสนอความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติได้ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ และ นำมาใช้ในการประมวลความรู้ เพื่ออธิบายการแปรผันทางกายวิภาคศาสตร์ต่าง ๆ
     1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์และศาสตร์ใน สาขาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน นำมาใช้ในการประมวลความรู้ เพื่ออธิบายการแปรผันทางกายวิภาคศาสตร์ต่าง ๆ ได้
     2. มีความสามารถในการวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ และสามารถประยุกต์ เพื่อนำไปสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรม หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ ๆ ในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     3. มีความสามารถในการวางแผน และดำเนินโครงการวิจัย ผ่านการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ นำเสนอและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
     4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     5. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ มีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตน มีความสัมพันธ์อันดีต่อผู้ร่วมงาน มีความรับผิดชอบและสามารถทำงานเป็นกลุ่ม

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Anatomy
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : Master of Science Program in Anatomy
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (กายวิภาคศาสตร์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Anatomy)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Anatomy)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ และ นำมาใช้ในการประมวลความรู้ เพื่ออธิบายการแปรผันทางกายวิภาคศาสตร์ต่าง ๆ
     2. มีความสามารถใช้ความรู้พื้นฐานทางกายวิภาคศาสตร์สู่โครงการวิจัย ในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     3. มีความสามารถในการวางแผน และดำเนินโครงการวิจัย ผ่านการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ นำเสนอเป็นระบบ
     4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลงานวิจัยในระดับชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     5. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ มีภาวะผู้นำ เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบและสามารถทำงานเป็นกลุ่ม

สาขาวิชาพยาธิวิทยา

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) 

ปรัชญา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักการสำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา รวมทั้งการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์แบบสหสาขา ตลอดจนเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ เช่น การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence ; AI) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่อาจจะช่วยแก้ปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ นอกจากนี้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรต้องสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ในระดับสากล เพื่อให้เกิดการพัฒนาในสาขาวิชาพยาธิวิทยา สาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์แบบสหสาขา มีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ

วัตถุประสงค์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

  1. เข้าใจหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา ตลอดจนเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ การแพทย์แม่นยำ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาพยาธิวิทยาอย่างลึกซึ้ง
  2. อธิบายระเบียบวิธีวิจัยทางการแพทย์และประยุกต์ใช้ในการวิจัยทางพยาธิวิทยาได้
  3. สามารถทำวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ทางพยาธิวิทยาและทักษะการปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยา เพื่อแก้ไขปัญหาทางการแพทย์หรือการปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาได้
  4. วิเคราะห์และประเมินหรือให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานวิจัยทางพยาธิวิทยาและศาสตร์ทางการแพทย์ได้
  5. สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ และเปรียบเทียบผลการทดลองกับงานวิจัยอื่นๆ ได้
  6. สามารถสื่อสารทางวิชาการทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างดี
  7. สามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการสมัยใหม่ในการวิจัยและการปฏิบัติงานได้
  8.  มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
  9. เข้าใจหลักการของจริยธรรมในการวิจัยและสามารถประยุกต์ใช้ในการวิจัยได้
  10. มีทักษะในการวางแผน และการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  11. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในฐานะผู้นำ และผู้ตาม

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

ปรัชญา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา ตลอดจนเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่และการแพทย์แม่นยำ สามารถปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาเฉพาะทาง เช่น ศัลยพยาธิวิทยา เซลล์วิทยา เซลล์พันธุศาสตร์ เป็นต้น ตลอดจนบูรณาการองค์ความรู้ทางพยาธิวิทยาและทักษะทางพยาธิวิทยาในการทำวิจัยที่ยึดหลักปฏิบัติตามจริยธรรมในการวิจัยที่วางแผนและเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงวิเคราะห์และประเมินหรือให้ข้อคิดเห็นได้ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางวิชาการหรือการปฏิบัติงาน รวมทั้งพัฒนางานบริการในห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาได้ และเป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อืนได้ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
วัตถุประสงค์ 
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
  1. อธิบายหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา ตลอดจนความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่และการแพทย์แม่นยำได้
  2. สามารถปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาเฉพาะทาง เช่น ศัลยพยาธิวิทยา เซลล์วิทยา เซลล์พันธุศาสตร์ เป็นต้น
  3. อธิบายวิธีการวิจัยทางการแพทย์และประยุกต์ใช้ในการวิจัยทางพยาธิวิทยาได้
  4. สามารถทำวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ทางพยาธิวิทยาและทักษะทางพยาธิวิทยา เพื่อแก้ไขปัญหาวิจัยทางการแพทย์หรือการปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาได้
  5. วิเคราะห์และประเมินหรือให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานวิจัยทางพยาธิวิทยาและศาสตร์ทางการแพทย์ได้
  6. สามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการทดลองเชิงตัวเลขได้อย่างถูกต้อง
  7. สามารถสื่อสารทางวิชาการทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้
  8. สามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการสมัยใหม่ในการวิจัยและการทำงานได้
  9. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
  10. อธิบายจริยธรรมในการวิจัยและสามารถประยุกต์ใช้ในการวิจัยได้
  11. มีทักษะในการวางแผน และการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  12. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม

สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล
หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

รหัสและชื่อหลักสูตร
      ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล (หลักสูตรนานาชาติ)
      ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Medical Biochemistry and Molecular Biology (International Program)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Medical Biochemistry and

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (ชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Medical Biochemistry and Molecular Biology)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Medical Biochemistry and Molecular Biology)

วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์ และชีวโมเลกุล หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1) มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการ และทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีวโมเลกุล รวมทั้งสาขาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตามาตรฐานวิชาชีพ
     2) มีความสามารถในการวิจัย ใช้คณิตศาสตร์และสถิติ เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ และถ่ายทอดเพื่อให้เกิดการพัฒนาในสาขาวิชาการ หรือวิชาชีพของตนเองได้
     3) มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ผลิตผลงานทางวิชาการ เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการในระดับนานาชาติได้
     4) มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ผลิตผลงานทางวิชาการ เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการได้ในระดับนานาชาติได้
     5) มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ
     6) มีภาวะผู้นำ เข้าใจในความแตกต่างหลากหลายทางสังคม และวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล
หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

รหัสและชื่อหลักสูตร หลักสูตรนานาชาติ
     ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล 
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Medical Biochemistry and Molecular Biology (International Program)

รหัสและชื่อหลักสูตร 
     ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล (หลักสูตรนานาชาติ)
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Medical Biochemistry and Molecular Biology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
      ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล)
      ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (ชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล)
      ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Medical Biochemistry and Molecular Biology)
      ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Medical Biochemistry and Molecular Biology)

วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
      1) มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยา
      2) มีความสามารถในการใช้กระบวนการวิจัยในการวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาการปฏิบัติงานหรือปัญหาทางวิชาการ
      3) มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในระดับนานาชาติได้
      4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
      5) มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ
      6) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก

สาขาวิชาเภสัชวิทยา

Why Choose Us

Graduate Programs in Pharmacology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Our strong points

– Top-rated pharmacology programs in the country
– Stable funding
– International collaboration
– Well laboratory equipment
– Outstanding research

Your opportunity

– Translational research from preclinical to clinical study
– Green campus & friendly environment
– Diverse career path (researcher or academic staff in industrial and public sector such as FDA, Department of Medical Sciences)
– Research in public health problem of AEC region such as cholangiocarcinoma, drug allergy, tropical diseases, drug resistance
– Scholarships for living allowance

more detail Click..

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาเภสัชวิทยา
หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Pharmacology (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
      ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เภสัชวิทยา)
      ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (เภสัชวิทยา)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Pharmacology)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Pharmacology)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในสาขาวิชาเภสัชวิทยา และสามารถบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเพื่อประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพและนำไปใช้ประโยชน์
     2. มีความสามารถในการวิจัยทางด้านเภสัชวิทยา การคิดริเริ่ม วางแผนการวิจัย การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การคิดเชิงพากย์สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ หรือทรัพย์สินทางปัญญา หรือนวัตกรรม
     3. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่หรือปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และความสามารถทางด้านภาษาและสื่อสาร
     4. เป็นผู้มีความประพฤติปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีจิตอาสา
     5. มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การทำงานและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบสูงและมีภาวะผู้นำ

ข้อมูลหลักสูตรเพิ่มเติม [บัณฑิตวิทยาลัย มข.] 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเภสัชวิทยา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Pharmacology (International Program)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Pharmacology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชวิทยา)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (เภสัชวิทยา)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Pharmacology)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Pharmacology)

วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในสาขาวิชาเภสัชวิทยา และสามารถบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องได้
     2. มีความสามารถในการปฏิบัติงานวิจัยทางเภสัชวิทยา สามารถวิเคราะห์และวิจารณ์ผลงานวิจัย
     3. มีความสามารถการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศสมัยใหม่หรือปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และความสามารถทางด้านภาษาและการสื่อสาร
     4. เป็นผู้ที่มีความประพฤติปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีจิตอาสา
     5. มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การทำงานและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบสูงและมีภาวะผู้นำ

ข้อมูลหลักสูตรเพิ่มเติม [บัณฑิตวิทยาลัย มข.]