สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขา วิชาประสาทวิทยาศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Neuroscience
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ประสาทวิทยาศาสตร์)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (ประสาทวิทยาศาสตร์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Neuroscience)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Neuroscience)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์และศาสตร์ในสาขาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นำมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนและพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ได้และสามารถประยุกต์ความรู้ในการทำวิจัยหรือการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพในระดับสูงได้
    2. มีความสามารถในการวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ทั้งในมุมลึกและมุมกว้าง เพื่อการแก้ปัญหาทางวิชาการหรือการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน หรือการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
    3. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร รวมทั้งมีทักษะในการถ่ายทอดแก่บุคลากรหลากหลายอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
     4. สามารถนำความรู้ทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์และสร้างนวัตกรรม เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ แก้ไขปัญหาทางด้านระบบประสาทและแก้ไขความผิดปกติทางระบบประสาท ตลอดจนการสร้างเสริมสมรรถนะของระบบประสาท
      5. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและ จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
      6. มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม
   7. มีทักษะในการวางแผน การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรู้ความสามารถพร้อมในการทำงานและมีความสามารถทำงานเป็นทีม

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขา วิชาประสาทวิทยาศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Neuroscience
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ประสาทวิทยาศาสตร์)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (ประสาทวิทยาศาสตร์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Neuroscience)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Neuroscience)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
      1. มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์และสามารถสามารถต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่การสร้างผลงานวิจัย และ ผลงานทางวิชาการที่เป็นนวัตกรรม สอดคล้องและตอบสนองกับทิศทางการพัฒนาประเทศระดับสูงได้
      2. มีความสามารถในการวิจัยหรือการจัดการโครงการทางวิชาการที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
      3. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
     4. นำความรู้ทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ แก้ไขปัญหาทางด้านระบบประสาทและแก้ไขความผิดปกติทางระบบประสาท ตลอดจนการสร้างเสริมสมรรถนะของระบบประสาท
     5. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
     6. มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม
     7. มีทักษะในการวางแผน การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรู้ความสามารถพร้อมในการทำงานและมีความสามารถทำงานเป็นทีม

สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎิบัณฑิต
สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Anatomy
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (กายวิภาคศาสตร์)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (กายวิภาคศาสตร์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Anatomy)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Anatomy)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญในการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ และแนวคิดที่สำคัญในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ รวมถึงศาสตร์ในสาขาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง มีภาวะผู้นำ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการทำวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสามารถประยุกต์งานวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม ถ่ายทอด และนำเสนอความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติได้ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ และ นำมาใช้ในการประมวลความรู้ เพื่ออธิบายการแปรผันทางกายวิภาคศาสตร์ต่าง ๆ
     1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์และศาสตร์ใน สาขาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน นำมาใช้ในการประมวลความรู้ เพื่ออธิบายการแปรผันทางกายวิภาคศาสตร์ต่าง ๆ ได้
     2. มีความสามารถในการวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ และสามารถประยุกต์ เพื่อนำไปสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรม หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ ๆ ในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     3. มีความสามารถในการวางแผน และดำเนินโครงการวิจัย ผ่านการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ นำเสนอและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
     4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     5. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ มีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตน มีความสัมพันธ์อันดีต่อผู้ร่วมงาน มีความรับผิดชอบและสามารถทำงานเป็นกลุ่ม

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Anatomy
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : Master of Science Program in Anatomy
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (กายวิภาคศาสตร์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Anatomy)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Anatomy)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ และ นำมาใช้ในการประมวลความรู้ เพื่ออธิบายการแปรผันทางกายวิภาคศาสตร์ต่าง ๆ
     2. มีความสามารถใช้ความรู้พื้นฐานทางกายวิภาคศาสตร์สู่โครงการวิจัย ในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     3. มีความสามารถในการวางแผน และดำเนินโครงการวิจัย ผ่านการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ นำเสนอเป็นระบบ
     4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลงานวิจัยในระดับชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     5. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ มีภาวะผู้นำ เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบและสามารถทำงานเป็นกลุ่ม

สาขาวิชาพยาธิวิทยา

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) 

ปรัชญา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักการสำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา รวมทั้งการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์แบบสหสาขา ตลอดจนเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ เช่น การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence ; AI) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่อาจจะช่วยแก้ปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ นอกจากนี้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรต้องสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ในระดับสากล เพื่อให้เกิดการพัฒนาในสาขาวิชาพยาธิวิทยา สาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์แบบสหสาขา มีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ

วัตถุประสงค์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

  1. เข้าใจหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา ตลอดจนเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ การแพทย์แม่นยำ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาพยาธิวิทยาอย่างลึกซึ้ง
  2. อธิบายระเบียบวิธีวิจัยทางการแพทย์และประยุกต์ใช้ในการวิจัยทางพยาธิวิทยาได้
  3. สามารถทำวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ทางพยาธิวิทยาและทักษะการปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยา เพื่อแก้ไขปัญหาทางการแพทย์หรือการปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาได้
  4. วิเคราะห์และประเมินหรือให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานวิจัยทางพยาธิวิทยาและศาสตร์ทางการแพทย์ได้
  5. สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ และเปรียบเทียบผลการทดลองกับงานวิจัยอื่นๆ ได้
  6. สามารถสื่อสารทางวิชาการทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างดี
  7. สามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการสมัยใหม่ในการวิจัยและการปฏิบัติงานได้
  8.  มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
  9. เข้าใจหลักการของจริยธรรมในการวิจัยและสามารถประยุกต์ใช้ในการวิจัยได้
  10. มีทักษะในการวางแผน และการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  11. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในฐานะผู้นำ และผู้ตาม

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

ปรัชญา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา ตลอดจนเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่และการแพทย์แม่นยำ สามารถปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาเฉพาะทาง เช่น ศัลยพยาธิวิทยา เซลล์วิทยา เซลล์พันธุศาสตร์ เป็นต้น ตลอดจนบูรณาการองค์ความรู้ทางพยาธิวิทยาและทักษะทางพยาธิวิทยาในการทำวิจัยที่ยึดหลักปฏิบัติตามจริยธรรมในการวิจัยที่วางแผนและเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงวิเคราะห์และประเมินหรือให้ข้อคิดเห็นได้ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางวิชาการหรือการปฏิบัติงาน รวมทั้งพัฒนางานบริการในห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาได้ และเป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อืนได้ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
วัตถุประสงค์ 
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
  1. อธิบายหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา ตลอดจนความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่และการแพทย์แม่นยำได้
  2. สามารถปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาเฉพาะทาง เช่น ศัลยพยาธิวิทยา เซลล์วิทยา เซลล์พันธุศาสตร์ เป็นต้น
  3. อธิบายวิธีการวิจัยทางการแพทย์และประยุกต์ใช้ในการวิจัยทางพยาธิวิทยาได้
  4. สามารถทำวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ทางพยาธิวิทยาและทักษะทางพยาธิวิทยา เพื่อแก้ไขปัญหาวิจัยทางการแพทย์หรือการปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาได้
  5. วิเคราะห์และประเมินหรือให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานวิจัยทางพยาธิวิทยาและศาสตร์ทางการแพทย์ได้
  6. สามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการทดลองเชิงตัวเลขได้อย่างถูกต้อง
  7. สามารถสื่อสารทางวิชาการทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้
  8. สามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการสมัยใหม่ในการวิจัยและการทำงานได้
  9. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
  10. อธิบายจริยธรรมในการวิจัยและสามารถประยุกต์ใช้ในการวิจัยได้
  11. มีทักษะในการวางแผน และการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  12. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม

สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล
หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

รหัสและชื่อหลักสูตร
      ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล (หลักสูตรนานาชาติ)
      ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Medical Biochemistry and Molecular Biology (International Program)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Medical Biochemistry and

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (ชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Medical Biochemistry and Molecular Biology)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Medical Biochemistry and Molecular Biology)

วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์ และชีวโมเลกุล หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1) มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการ และทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีวโมเลกุล รวมทั้งสาขาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตามาตรฐานวิชาชีพ
     2) มีความสามารถในการวิจัย ใช้คณิตศาสตร์และสถิติ เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ และถ่ายทอดเพื่อให้เกิดการพัฒนาในสาขาวิชาการ หรือวิชาชีพของตนเองได้
     3) มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ผลิตผลงานทางวิชาการ เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการในระดับนานาชาติได้
     4) มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ผลิตผลงานทางวิชาการ เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการได้ในระดับนานาชาติได้
     5) มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ
     6) มีภาวะผู้นำ เข้าใจในความแตกต่างหลากหลายทางสังคม และวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล
หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

รหัสและชื่อหลักสูตร หลักสูตรนานาชาติ
     ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล 
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Medical Biochemistry and Molecular Biology (International Program)

รหัสและชื่อหลักสูตร 
     ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล (หลักสูตรนานาชาติ)
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Medical Biochemistry and Molecular Biology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
      ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล)
      ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (ชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล)
      ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Medical Biochemistry and Molecular Biology)
      ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Medical Biochemistry and Molecular Biology)

วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
      1) มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยา
      2) มีความสามารถในการใช้กระบวนการวิจัยในการวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาการปฏิบัติงานหรือปัญหาทางวิชาการ
      3) มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในระดับนานาชาติได้
      4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
      5) มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ
      6) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก

สาขาวิชาเภสัชวิทยา

Why Choose Us

Graduate Programs in Pharmacology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Our strong points

– Top-rated pharmacology programs in the country
– Stable funding
– International collaboration
– Well laboratory equipment
– Outstanding research

Your opportunity

– Translational research from preclinical to clinical study
– Green campus & friendly environment
– Diverse career path (researcher or academic staff in industrial and public sector such as FDA, Department of Medical Sciences)
– Research in public health problem of AEC region such as cholangiocarcinoma, drug allergy, tropical diseases, drug resistance
– Scholarships for living allowance

more detail Click..

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาเภสัชวิทยา
หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Pharmacology (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
      ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เภสัชวิทยา)
      ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (เภสัชวิทยา)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Pharmacology)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Pharmacology)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในสาขาวิชาเภสัชวิทยา และสามารถบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเพื่อประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพและนำไปใช้ประโยชน์
     2. มีความสามารถในการวิจัยทางด้านเภสัชวิทยา การคิดริเริ่ม วางแผนการวิจัย การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การคิดเชิงพากย์สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ หรือทรัพย์สินทางปัญญา หรือนวัตกรรม
     3. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่หรือปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และความสามารถทางด้านภาษาและสื่อสาร
     4. เป็นผู้มีความประพฤติปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีจิตอาสา
     5. มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การทำงานและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบสูงและมีภาวะผู้นำ

ข้อมูลหลักสูตรเพิ่มเติม [บัณฑิตวิทยาลัย มข.] 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเภสัชวิทยา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Pharmacology (International Program)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Pharmacology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชวิทยา)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (เภสัชวิทยา)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Pharmacology)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Pharmacology)

วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในสาขาวิชาเภสัชวิทยา และสามารถบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องได้
     2. มีความสามารถในการปฏิบัติงานวิจัยทางเภสัชวิทยา สามารถวิเคราะห์และวิจารณ์ผลงานวิจัย
     3. มีความสามารถการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศสมัยใหม่หรือปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และความสามารถทางด้านภาษาและการสื่อสาร
     4. เป็นผู้ที่มีความประพฤติปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีจิตอาสา
     5. มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การทำงานและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบสูงและมีภาวะผู้นำ

ข้อมูลหลักสูตรเพิ่มเติม [บัณฑิตวิทยาลัย มข.]

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คลินิก (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คลินิก หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คลินิก (หลักสูตรนานาชาติ)
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Clinical Sciences (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์คลินิก)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (วิทยาศาสตร์คลินิก)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Clinical Sciences)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Clinical Sciences

วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คลินิก หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
      1. มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์คลินิกและศาสตร์ ในสาขาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน สามารถประยุกต์ใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน และพัฒนาความรู้ ในสาขาวิชาที่ศึกษาได้
      2. มีความรู้พื้นฐานในสาขาที่สัมพันธ์กันกับปัญหาที่ศึกษา เช่น ความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านปรีคลินิก เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในทางคลินิก
      3. มีความสามารถในการทำวิจัยที่ได้มาตรฐานสากล หรือการจัดการโครงสร้างทางวิชาการ ที่จะก่อให้เกิด การพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีการปฏิบัติงานใหม่ๆ ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์คลินิก
      4. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
       5. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ มีภาวะผู้นำ และเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ
       6. เป็นนักวิจัยทางการแพทย์คลินิกที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยทางคลินิก สามารถนำความรู้นั้นมาใช้ในการวิจัยเพื่อปรับปรุงกระบวนการวินิจฉัยโรคการดูแลรักษาผู้ป่วยตลอดจนการป้องกันการเกิดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาทางการแพทย์ได้ดียิ่งขึ้น
       7. เป็นนักวิจัยทางการแพทย์คลินิกที่มีความรับผิดชอบในการศึกษาและการทำวิจัยมีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล มีความสามารถในการบริหารจัดการ สามารถปรับตัวและปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการวางแผนพัฒนาตนเองเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานระดับสูงขึ้นได้

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

นศ.คณะแพทยศาสตร์ มข. โชว์ผลงานศิลป์คิดสร้างสรรค์

นศ.คณะแพทยศาสตร์ มข. โชว์ผลงานศิลป์คิดสร้างสรรค์

เมื่อวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านนมา (09.00 น.) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรม MediScene 2022 ในธีม “Bedtime Story” นิทรรศการแสดงผลงานการเรียนรู้จากทักษะ ความรู้ ความสามารถด้าน Soft Skills เรียนรู้จินตนาการและศิลปะ ความหลายหลาก ความแตกต่าง การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม ผ่านการถ่ายทอดคิดสร้างสรรค์เป็นการวาดภาพ การออกแบบ การเล่นดนตรี ร้องเพลงและหนังสั้น โดยมี รศ.พญ.กมลวรรณ เจนวิถีสุข รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รศ.นพ.สุรพล วีระศิริ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ พร้อมผู้บริหาร บุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณาจารย์ประจำรายวิชา ร่วมเปิดกิจกรรมและรับชมผลงานหนังสั้น จำนวน 21 เรื่อง ณ ห้องประชุมเวชวิชชาคาร ชั้นที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

MediScene 2022 ในธีม “Bedtime Story” รวบรวมเรื่องเล่าก่อนนอนหลากหลาย เพื่อขับกล่อมทุกท่านเข้าสู่ห้วงนิทราที่น่าจดจำที่สุด นิทรรศการแสดงผลงานและหนังสั้นจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรแพทยศาสตร์และหลักสูตรเวชนิทัศน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา GE161892 ART AND CREATIVE APPRENTICES และ MD531152 Communication for Medical Illustration โดยกิจกรรมแบ่งเป็น 2 โซน บริเวณโถงทางเดิน ชั้นที่ 1 เป็นซุ้มอาหารอร่อย ของทอด, Popcorn, โรตี, ไอศกรีมหลากรสชาติจาก Sunset Gelato ซุ้มวาดการตูนล้อเรียน ขายผลงานศิลปะ ต่อด้วยชั้นที่ 4 ด้านหน้าห้องประชุมฯ จัดนิทรรศการผลงาน Art Anatomy  มากกว่า 320 ชิ้น, Backdrop ถ่ายภาพ , Photo Booth

ลิงค์ภาพกิจกรรม

ภาพ/ข่าว : ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Hello world!

Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start writing!