สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขา วิชาประสาทวิทยาศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Neuroscience
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ประสาทวิทยาศาสตร์)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (ประสาทวิทยาศาสตร์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Neuroscience)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Neuroscience)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์และศาสตร์ในสาขาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นำมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนและพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ได้และสามารถประยุกต์ความรู้ในการทำวิจัยหรือการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพในระดับสูงได้
    2. มีความสามารถในการวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ทั้งในมุมลึกและมุมกว้าง เพื่อการแก้ปัญหาทางวิชาการหรือการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน หรือการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
    3. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร รวมทั้งมีทักษะในการถ่ายทอดแก่บุคลากรหลากหลายอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
     4. สามารถนำความรู้ทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์และสร้างนวัตกรรม เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ แก้ไขปัญหาทางด้านระบบประสาทและแก้ไขความผิดปกติทางระบบประสาท ตลอดจนการสร้างเสริมสมรรถนะของระบบประสาท
      5. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและ จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
      6. มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม
   7. มีทักษะในการวางแผน การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรู้ความสามารถพร้อมในการทำงานและมีความสามารถทำงานเป็นทีม

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขา วิชาประสาทวิทยาศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Neuroscience
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ประสาทวิทยาศาสตร์)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (ประสาทวิทยาศาสตร์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Neuroscience)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Neuroscience)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
      1. มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์และสามารถสามารถต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่การสร้างผลงานวิจัย และ ผลงานทางวิชาการที่เป็นนวัตกรรม สอดคล้องและตอบสนองกับทิศทางการพัฒนาประเทศระดับสูงได้
      2. มีความสามารถในการวิจัยหรือการจัดการโครงการทางวิชาการที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆในสาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
      3. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
     4. นำความรู้ทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ แก้ไขปัญหาทางด้านระบบประสาทและแก้ไขความผิดปกติทางระบบประสาท ตลอดจนการสร้างเสริมสมรรถนะของระบบประสาท
     5. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
     6. มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม
     7. มีทักษะในการวางแผน การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรู้ความสามารถพร้อมในการทำงานและมีความสามารถทำงานเป็นทีม

สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎิบัณฑิต
สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Anatomy
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (กายวิภาคศาสตร์)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (กายวิภาคศาสตร์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Anatomy)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Anatomy)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญในการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ และแนวคิดที่สำคัญในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ รวมถึงศาสตร์ในสาขาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง มีภาวะผู้นำ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการทำวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสามารถประยุกต์งานวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม ถ่ายทอด และนำเสนอความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติได้ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ และ นำมาใช้ในการประมวลความรู้ เพื่ออธิบายการแปรผันทางกายวิภาคศาสตร์ต่าง ๆ
     1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์และศาสตร์ใน สาขาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน นำมาใช้ในการประมวลความรู้ เพื่ออธิบายการแปรผันทางกายวิภาคศาสตร์ต่าง ๆ ได้
     2. มีความสามารถในการวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ และสามารถประยุกต์ เพื่อนำไปสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรม หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ ๆ ในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     3. มีความสามารถในการวางแผน และดำเนินโครงการวิจัย ผ่านการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ นำเสนอและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
     4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     5. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ มีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตน มีความสัมพันธ์อันดีต่อผู้ร่วมงาน มีความรับผิดชอบและสามารถทำงานเป็นกลุ่ม

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Anatomy
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : Master of Science Program in Anatomy
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (กายวิภาคศาสตร์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Anatomy)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Anatomy)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ และ นำมาใช้ในการประมวลความรู้ เพื่ออธิบายการแปรผันทางกายวิภาคศาสตร์ต่าง ๆ
     2. มีความสามารถใช้ความรู้พื้นฐานทางกายวิภาคศาสตร์สู่โครงการวิจัย ในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     3. มีความสามารถในการวางแผน และดำเนินโครงการวิจัย ผ่านการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ นำเสนอเป็นระบบ
     4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลงานวิจัยในระดับชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     5. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ มีภาวะผู้นำ เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบและสามารถทำงานเป็นกลุ่ม

สาขาวิชาพยาธิวิทยา

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) 

ปรัชญา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักการสำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา รวมทั้งการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์แบบสหสาขา ตลอดจนเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ เช่น การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence ; AI) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่อาจจะช่วยแก้ปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ นอกจากนี้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรต้องสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ในระดับสากล เพื่อให้เกิดการพัฒนาในสาขาวิชาพยาธิวิทยา สาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์แบบสหสาขา มีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ

วัตถุประสงค์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

  1. เข้าใจหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา ตลอดจนเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ การแพทย์แม่นยำ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาพยาธิวิทยาอย่างลึกซึ้ง
  2. อธิบายระเบียบวิธีวิจัยทางการแพทย์และประยุกต์ใช้ในการวิจัยทางพยาธิวิทยาได้
  3. สามารถทำวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ทางพยาธิวิทยาและทักษะการปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยา เพื่อแก้ไขปัญหาทางการแพทย์หรือการปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาได้
  4. วิเคราะห์และประเมินหรือให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานวิจัยทางพยาธิวิทยาและศาสตร์ทางการแพทย์ได้
  5. สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ และเปรียบเทียบผลการทดลองกับงานวิจัยอื่นๆ ได้
  6. สามารถสื่อสารทางวิชาการทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างดี
  7. สามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการสมัยใหม่ในการวิจัยและการปฏิบัติงานได้
  8.  มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
  9. เข้าใจหลักการของจริยธรรมในการวิจัยและสามารถประยุกต์ใช้ในการวิจัยได้
  10. มีทักษะในการวางแผน และการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  11. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในฐานะผู้นำ และผู้ตาม

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

ปรัชญา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา ตลอดจนเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่และการแพทย์แม่นยำ สามารถปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาเฉพาะทาง เช่น ศัลยพยาธิวิทยา เซลล์วิทยา เซลล์พันธุศาสตร์ เป็นต้น ตลอดจนบูรณาการองค์ความรู้ทางพยาธิวิทยาและทักษะทางพยาธิวิทยาในการทำวิจัยที่ยึดหลักปฏิบัติตามจริยธรรมในการวิจัยที่วางแผนและเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงวิเคราะห์และประเมินหรือให้ข้อคิดเห็นได้ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางวิชาการหรือการปฏิบัติงาน รวมทั้งพัฒนางานบริการในห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาได้ และเป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อืนได้ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
วัตถุประสงค์ 
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
  1. อธิบายหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา ตลอดจนความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่และการแพทย์แม่นยำได้
  2. สามารถปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาเฉพาะทาง เช่น ศัลยพยาธิวิทยา เซลล์วิทยา เซลล์พันธุศาสตร์ เป็นต้น
  3. อธิบายวิธีการวิจัยทางการแพทย์และประยุกต์ใช้ในการวิจัยทางพยาธิวิทยาได้
  4. สามารถทำวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ทางพยาธิวิทยาและทักษะทางพยาธิวิทยา เพื่อแก้ไขปัญหาวิจัยทางการแพทย์หรือการปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาได้
  5. วิเคราะห์และประเมินหรือให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานวิจัยทางพยาธิวิทยาและศาสตร์ทางการแพทย์ได้
  6. สามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการทดลองเชิงตัวเลขได้อย่างถูกต้อง
  7. สามารถสื่อสารทางวิชาการทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้
  8. สามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการสมัยใหม่ในการวิจัยและการทำงานได้
  9. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
  10. อธิบายจริยธรรมในการวิจัยและสามารถประยุกต์ใช้ในการวิจัยได้
  11. มีทักษะในการวางแผน และการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  12. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม

สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล
หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

รหัสและชื่อหลักสูตร
      ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล (หลักสูตรนานาชาติ)
      ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Medical Biochemistry and Molecular Biology (International Program)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Medical Biochemistry and

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (ชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Medical Biochemistry and Molecular Biology)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Medical Biochemistry and Molecular Biology)

วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์ และชีวโมเลกุล หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1) มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการ และทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีวโมเลกุล รวมทั้งสาขาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตามาตรฐานวิชาชีพ
     2) มีความสามารถในการวิจัย ใช้คณิตศาสตร์และสถิติ เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ และถ่ายทอดเพื่อให้เกิดการพัฒนาในสาขาวิชาการ หรือวิชาชีพของตนเองได้
     3) มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ผลิตผลงานทางวิชาการ เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการในระดับนานาชาติได้
     4) มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ผลิตผลงานทางวิชาการ เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการได้ในระดับนานาชาติได้
     5) มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ
     6) มีภาวะผู้นำ เข้าใจในความแตกต่างหลากหลายทางสังคม และวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล
หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

รหัสและชื่อหลักสูตร หลักสูตรนานาชาติ
     ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล 
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Medical Biochemistry and Molecular Biology (International Program)

รหัสและชื่อหลักสูตร 
     ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล (หลักสูตรนานาชาติ)
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Medical Biochemistry and Molecular Biology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
      ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล)
      ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (ชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล)
      ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Medical Biochemistry and Molecular Biology)
      ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Medical Biochemistry and Molecular Biology)

วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
      1) มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยา
      2) มีความสามารถในการใช้กระบวนการวิจัยในการวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาการปฏิบัติงานหรือปัญหาทางวิชาการ
      3) มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในระดับนานาชาติได้
      4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
      5) มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ
      6) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก

สาขาวิชาเภสัชวิทยา

Why Choose Us

Graduate Programs in Pharmacology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Our strong points

– Top-rated pharmacology programs in the country
– Stable funding
– International collaboration
– Well laboratory equipment
– Outstanding research

Your opportunity

– Translational research from preclinical to clinical study
– Green campus & friendly environment
– Diverse career path (researcher or academic staff in industrial and public sector such as FDA, Department of Medical Sciences)
– Research in public health problem of AEC region such as cholangiocarcinoma, drug allergy, tropical diseases, drug resistance
– Scholarships for living allowance

more detail Click..

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาเภสัชวิทยา
หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Pharmacology (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
      ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เภสัชวิทยา)
      ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (เภสัชวิทยา)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Pharmacology)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Pharmacology)
วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในสาขาวิชาเภสัชวิทยา และสามารถบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเพื่อประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพและนำไปใช้ประโยชน์
     2. มีความสามารถในการวิจัยทางด้านเภสัชวิทยา การคิดริเริ่ม วางแผนการวิจัย การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การคิดเชิงพากย์สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ หรือทรัพย์สินทางปัญญา หรือนวัตกรรม
     3. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่หรือปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และความสามารถทางด้านภาษาและสื่อสาร
     4. เป็นผู้มีความประพฤติปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีจิตอาสา
     5. มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การทำงานและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบสูงและมีภาวะผู้นำ

ข้อมูลหลักสูตรเพิ่มเติม [บัณฑิตวิทยาลัย มข.] 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเภสัชวิทยา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Pharmacology (International Program)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา
     ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Pharmacology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชวิทยา)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (เภสัชวิทยา)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science (Pharmacology)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Pharmacology)

วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
     1. มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในสาขาวิชาเภสัชวิทยา และสามารถบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องได้
     2. มีความสามารถในการปฏิบัติงานวิจัยทางเภสัชวิทยา สามารถวิเคราะห์และวิจารณ์ผลงานวิจัย
     3. มีความสามารถการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศสมัยใหม่หรือปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และความสามารถทางด้านภาษาและการสื่อสาร
     4. เป็นผู้ที่มีความประพฤติปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีจิตอาสา
     5. มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การทำงานและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบสูงและมีภาวะผู้นำ

ข้อมูลหลักสูตรเพิ่มเติม [บัณฑิตวิทยาลัย มข.]

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คลินิก (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คลินิก หลักสูตรนานาชาติ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562)

รหัสและชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คลินิก (หลักสูตรนานาชาติ)
     ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Clinical Sciences (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์คลินิก)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (วิทยาศาสตร์คลินิก)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Clinical Sciences)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Clinical Sciences

วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คลินิก หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
      1. มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์คลินิกและศาสตร์ ในสาขาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน สามารถประยุกต์ใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน และพัฒนาความรู้ ในสาขาวิชาที่ศึกษาได้
      2. มีความรู้พื้นฐานในสาขาที่สัมพันธ์กันกับปัญหาที่ศึกษา เช่น ความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านปรีคลินิก เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในทางคลินิก
      3. มีความสามารถในการทำวิจัยที่ได้มาตรฐานสากล หรือการจัดการโครงสร้างทางวิชาการ ที่จะก่อให้เกิด การพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีการปฏิบัติงานใหม่ๆ ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์คลินิก
      4. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
       5. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ มีภาวะผู้นำ และเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ
       6. เป็นนักวิจัยทางการแพทย์คลินิกที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยทางคลินิก สามารถนำความรู้นั้นมาใช้ในการวิจัยเพื่อปรับปรุงกระบวนการวินิจฉัยโรคการดูแลรักษาผู้ป่วยตลอดจนการป้องกันการเกิดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาทางการแพทย์ได้ดียิ่งขึ้น
       7. เป็นนักวิจัยทางการแพทย์คลินิกที่มีความรับผิดชอบในการศึกษาและการทำวิจัยมีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล มีความสามารถในการบริหารจัดการ สามารถปรับตัวและปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการวางแผนพัฒนาตนเองเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานระดับสูงขึ้นได้

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง